4 วิธีเลือกใช้ #PLC ให้เหมาะกับไลน์การผลิตและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

หลายคนอาจมีคำถามมากมาย กับการที่จะเลือกใช้ PLC ต้องใช้รุ่นไหนดี? ใช้ควบคุมอะไรดี? ซึ่งการเลือก PLC ขึ้นอยู่กับความต้องการและการใช้งานของผู้ใช้งาน ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา เช่น

  • จำนวน INPUT / OUTPUT ที่ต้องการควบคุม
  • ความเร็วในการประมวลผล
  • ความเสถียรภาพของระบบ และระบบการเชื่อมต่ออื่นๆ

ตัวอย่างเช่น หากมีระบบ PLC ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของโรงงานผลิต เราสามารถมอง Input และ Output ของระบบนี้ได้ดังนี้
Input : สัญญาณจากเซนเซอร์ตรวจจับสถานะเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ วัดแรงดัน วัดระดับน้ำ เป็นต้น
Output: สัญญาณควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น มอเตอร์เปิด/ปิด วาล์วควบคุมไอน้ำ เปิด/ปิดไฟและอื่นๆ

1. ควรใช้ไฟกี่โวลต์ ?

การใช้ไฟฟ้านั้นเป็นส่วนสำคัญ และเป็นส่วนที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก ซึ่งการใช้ไฟฟ้าสำหรับการทำงานของ PLC นั้นมีหลายรูปแบบ เช่น การใช้ไฟเพื่อเปิดเครื่องมือ, การใช้ไฟเพื่อส่งสัญญาณควบคุม, การใช้ไฟเพื่อส่งสัญญาณแจ้งเตือน, การใช้ไฟเพื่อป้องกันการชนกัน กระแสไฟที่ใช้กับ PLC นั้นใช้ได้ทั้งแบบ AC และ DC โดย
1.1 แบบ AC (กระแสสลับ) ควรใช้กำลังไฟที่ 85-220v
1.2 แบบ DC (กระแสตรง) ควรใช้กำลังไฟที่ 24V
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละระบบการทำงานหรือไลน์การผลิตนั้นๆ

2.INPUT/OUTPUT

Input และ Output เป็นส่วนสำคัญของระบบนี้ โดย Input จะเป็นสัญญาณที่ระบบ PLC รับเข้ามาจากอุปกรณ์ต่างๆ PLC แต่ละยี่ห้อสร้างมาเพื่อทำงานในระบบอัตโนมัติตั้งแต่ระบบง่าย ๆ จนถึงซับซ้อน

2.1 สามารถใช้ Input แบบไหนได้บ้าง ?
โดยทั่วไป Input นั้นจะสามารถรับได้ 2 แบบหลัก ๆ คือ
2.1.1 Input แบบ Analog เช่น สามารถรับสัญญานแรงดัน ขนาดต่าง ๆ ตั้งแต่ 1-5 V หรือ 4-20ma
2.1.2 Input แบบ Digital เช่น switch on/off ทั่ว ๆ ไป

2.2 Output ของ PLC สามารถแบ่งออกเป็นหลายแบบได้ดังนี้
2.2.1 Output แบบ Relay ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากตัวควบคุมสามารถโหลดได้ทั้งแบบ AC และ DC
2.2.2 Output แบบ Transistor มีความเร็วสูงมากกว่า แบบ Relay มาก แต่ข้อเสีย คือ จะสามารถใช้ได้กับการใช้ไฟฟ้าแบบ DC เท่านั้น
2.2.3 Output แบบ Triac เป็นสารกึ่งตัวนำเหมือนกับ แบบ Transistor แต่จะสามารถใช้งานได้แค่กับไฟฟ้าแบบ AC เท่านั้น

3. เครือข่ายการเชื่อมต่อระบบ

เป็นปัจจัยที่ค่อนข้างสำคัญอย่างมาก เนื่องจากระบบการผลิตขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีการตรวหาข้อผิดพลาดของกระบวนการผลิตอยู่ตลอดเวลา เพื่อลดปัญหาการที่จะเกิดในสายพานการผลิต

การเลือกซื้อ PLC จึงต้องสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายและสามารถมอนิเตอร์ระบบได้จากศูนย์กลางทั้งระยะใกล้(ภายในโรงงาน) หรือระยะไกลผ่านอินเตอร์เน็ต

4.ความจุของหน่วยความจำ

PLC แต่ละซีรีส์จะมีหน่วยความจำที่ไม่เท่ากัน สามารถเพิ่มเติมได้ ยิ่งมีหน่วยความจำที่มากก็สามารถที่จะเขียนโปรแกรมควบคุมได้มาก แต่ราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

ข้อมูลจาก : Mitsubishi Electric