จากรายงาน Climate Change 2022 : Mitigation of Climate Change โดยคณะกรรมการ IPCC ระบุว่า ตั้งแต่ปี 1850 ถึงปี 2019 ทั่วโลกมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมประมาณ 2,400 จิกะตัน ซึ่งนับเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยปีละ 35 – 36 จิกะตัน และในปี 2021 ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 37.12 จิกะตัน เพิ่มขึ้น 5.3% จากปี 2020 หากต้องการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ทั้งโลกสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกไม่เกินประมาณ 500 จิกะตัน
ดังนั้น จะเห็นได้ว่ายังคงมีช่องว่างในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Budget) ได้อีกไม่มาก หากทั่วโลกยังไม่รีบปรับตัวหรือร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง ภูมิอากาศของโลกในอีก 10 ปีข้างหน้าอาจแปรปรวนมาก แม้ประเทศไทยจะมี คาร์บอนฟุตพริ้นท์ เฉลี่ยประมาณ 0.3 จิกะตันต่อปี ซึ่งถือเป็นปริมาณที่ไม่มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
แต่จากรายงาน Global Climate Risk Index 2021 โดย German Watch ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับความเสมอภาคและการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ รวมถึงติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเปิดเผยว่า “ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 9 ของประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว” เนื่องจากประเทศไทยมีการสะสมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาอย่างต่อเนื่องและเกิดเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรุนแรง ซึ่งสร้างความเสียหายแก่ภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจของประเทศในหลายๆ ด้าน เช่น เกษตรกรรม การท่องเที่ยว และการค้า
ด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อวางแผนลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเกิดแนวคิดที่ใช้ในการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เรียกว่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) หรือรอยเท้าคาร์บอน ซึ่งคาร์บอนฟุตพริ้นท์สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ หนึ่งในนั้นคือ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Organization)
ทำความเข้าใจกันก่อน คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร คืออะไร ทำไมต้องจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะ คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Organization) คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เช่น การใช้ไฟฟ้า การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การจัดการของเสีย การขนส่ง เป็นต้น คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรแบ่งออกเป็น 3 Scope ดังนี้
Scope 1: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกระบวนการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรโดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเครื่องจักร การใช้พาหนะขององค์กร (ที่องค์กรเป็นเจ้าของเอง) การรั่วไหลของสารทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
Scope 2: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมจากการใช้พลังงาน เช่น การซื้อพลังงานไฟฟ้า ความร้อน และไอน้ำที่ถูกนำเข้ามาจากภายนอกเพื่อใช้ในองค์กร
Scope 3: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมอื่นๆ เช่น การเดินทางของพนักงานด้วยพาหนะที่ไม่ใช่ขององค์กร การใช้วัสดุอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ เป็นต้น
การคำนวณ คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร จะทำให้องค์กรทราบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การบริหารความเสี่ยง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าโลก รวมทั้งสร้างโอกาสด้านการลงทุนร่วมกับกลุ่มธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย
TKK Corporation จับมือ cWallet นำเสนอแพลตฟอร์มจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์สัญชาติไทยให้ภาคอุตสาหกรรม
ด้วยตระหนักในการผลักดันแพลตฟอร์มด้านการจัดการ Carbon Footprint สัญชาติไทย ให้ภาคอุตสาหกรรมได้มีโอกาสใช้อย่างแพร่หลาย บริษัท บิ้ว ทรี เทคโนโลยี จำกัด ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือเพื่อแต่งตั้งให้ บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นตัวแทนให้บริการ cWallet เพื่อร่วมขับเคลื่อนการให้บริการด้านแพลตฟอร์มจัดการ Carbon Footprint สู่อุตสาหกรรมไทย
เมื่อเร็วๆ นี้ กัลยาณี คงสมจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมกับ นัชชา เลิศหัตถศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิ้ว ทรี เทคโนโลยี จำกัด ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อแต่งตั้งให้บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นตัวแทนให้บริการ cWallet แพลตฟอร์มด้านการจัดการ Carbon Footprint สัญชาติไทย ณ ที่ทำการสำนักงานใหญ่ บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด อาคารเอ็ม เอส สยาม ทาวเวอร์
บันทึกข้อตกลงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมผลักดัน แพลตฟอร์ม cWallet สู่อุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย ผ่านเครือข่ายการให้บริการของ ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ไปสู่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย เพื่อร่วมส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของประเทศ
รู้จัก cWallet แพลตฟอร์มจัดการ Carbon Footprint ของไทย กับความพร้อมขยายธุรกิจร่วมกับพาร์ทเนอร์ผู้เชี่ยวชาญอย่าง ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น
โดยในโอกาสนี้ คุณนัชชา ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ cWallet แพลตฟอร์มด้านการจัดการ Carbon Footprint ที่คิดค้นขึ้นโดยคนไทยว่า
“ต้องยอมรับว่าเรื่องของความยั่งยืน และ ก๊าซเรือนกระจก เป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสนใจกันมาอย่างยาวนาน ทำให้บริษัทฯของเรา ให้ความสนใจในเรื่องของนวัตกรรมที่ช่วยในการบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจก หรือ คาร์บอนฟุตปริ้นท์องค์กร อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้คิดค้น cWallet แพลตฟอร์มด้านการจัดการ Carbon Footprint ขึ้น เพื่อให้แต่ละองค์กรได้ทราบว่า การทำธุรกิจของตนสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน”
“เพราะในการประกอบธุรกิจ ไปจนถึงการผลิตในภาคอุตสาหกรรม บางครั้งเราทำร้ายโลกไปโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นการที่เรารู้ว่า เราปล่อยคาร์บอนฟุตปริ้นท์ไปเท่าไร ย่อมทำให้เราวางแผนกลยุทธ์ที่จะลดผลกระทบที่เกิดขึ้นลงมาได้ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ บริษัท บิ้ว ทรี เทคโนโลยี จำกัด คิดค้นแพลตฟอร์มจัดการคาร์บอนฟุตปริ้นท์ และนำเสนอให้ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมของไทยได้ใช้ ซึ่งส่วนหนึ่งจะช่วยให้ทุกองค์กรมีความรู้ ความเข้าใจว่าคาร์บอนฟุตปริ้นท์คืออะไร และจะมีส่วนร่วมในการช่วยโลกอย่างไรได้บ้าง”
“ทั้งนี้ โดยส่วนตัวมีความสนใจในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อน โดยเริ่มจากตัวเองอยู่แล้ว เช่น การแยกขยะและทิ้งให้ถูกประเภท เพื่อให้ขยะนั้นถูกนำไปรีไซเคิลอย่างถูกต้อง หรือในการเดินทาง ก็จะขับรถไปจอดแล้วเดินทางด้วยรถขนส่งสาธารณะ ซึ่งก็ถือเป็นการทำเพื่อโลกด้วยตัวคนเดียว เรารู้สึกว่าอาจไม่ก่อให้เกิดอิมแพคกับโลกนี้มากนัก จึงอยากำอะไรที่ใหญ่กว่านี้เพื่อชักชวนคนหรือหน่วยงานมาร่วมกันลดโลกร้อนบนแพลตฟอร์มที่เราสร้างขึ้นมา ซึ่งจะสร้างผลลัพธ์ที่ชัดเขนให้กับโลกใบนี้ให้มากขึ้นได้”
“และเรามองว่า กลุ่มที่มีส่วนในการปล่อยคาร์บอนฟุตปริ้นท์สูงมาก คือ องค์กรธุรกิจ ต่างๆ เราจึงอยากเป็นสื่อกลางที่เชิญชวนองค์กรต่างๆมาร่วมกันลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ซึ่งถือเป็นการชวนคนจำนวนมากมาร่วมมือกัน ทำให้เห็นอิมแพคที่มากขึ้นอย่างแน่นอน”
“โดย แพลตฟอร์ม cWallet เราได้ออกแบบเทมเพลตที่แต่ละอุตสาหกรรมสามารถเข้ามาเลือกเทลมเพลตที่เหมาะสมกับภาคอุตสาหกรรมของตนเองได้ ซึ่งเทมเพลตที่ออกแบบมาเฉพาะอุตสาหกรรมนี้จะทำให้คนที่ไม่เคยทำเรื่องคาร์บอนฟุตปริ้นท์มาก่อน สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย และผู้ใช้จะรู้ว่าในอุตสาหกรรมที่ตนเองอยู่ต้องกรอกข้อมูลสำคัญอะไรบ้างผ่านระบบที่เราออกแบบให้เหมะสมกับอุตสาหกรรมนั้นๆ”
“ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมขนส่ง แน่นอนว่าในเรื่องของการใช้พลังงานในการขนส่งอย่างน้ำมัน ก็จะมีสัดส่วนที่ก่อให้เกิด คาร์บอนฟุตปริ้นท์ องค์กรค่อนข้างสูง ขณะที่ ถ้าเป็นอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนที่จะสร้างก๊าซเรือนกระจกได้มาก คือ ขยะบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มีการรีไซเคิลที่เหมาะสม รวมถึงขยะเศษอาหารจากกระบวนการผลิตและการบริโภคด้วย”
“โดยแพลตฟอร์ม cWallet จะคำนวณคาร์บอนฟุตปริ้นท์ของแต่ละองค์กรออกมาเป็นหน่วย ตันคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ให้ เมื่อเราได้ตัวเลขจำนวนคาร์บอนฟุตปริ้นท์มาเราจะนำตัวเลขนี้ไปแสดงผลอยู่บน Dashboard ที่จะมีกราฟต่างๆบ่งบอกว่าหน่วยของความรุนแรงที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับใด และด้วยความที่เราทำแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย จึงทำให้คนที่ไม่เคยทำเรื่องการคำนวณคาร์บอนฟุตปริ้นท์มาก่อน สามารถทำความเข้าใจและใช้ง่านได้ในระยะเวลาอันสั้น”
“ทั้งนี้ เมื่อองค์กรได้รับตัวเลขที่คำนวณออกมาแล้ว ก็จะรู้ว่าตนเองมีข้อบกพร่องที่ปล่อยคาร์บอนฟุตปริ้นท์ออกมาในปริมาณที่สูงมากหรือไม่ และเมื่อรู้แล้ว ก็จะเป็นหน้าที่ขององค์กรที่จะไปหาโซลูชั่นต่างๆในการลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ จนเกิดเป็นกลยุทธ์ต่างๆ ที่จะ Decarbonized ในกระบวนการผลิตของตัวเองได้”
“และตัวเลขตรงนี้ก็สามารถใช้ในการสื่อสารกับผู้บริโภคได้ ซึ่งจะมีส่วนในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยผู้บริโภคสามารถเลือกตัดสินใจได้ว่าจะอุดหนุนผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ Low carbon เพราะในยุคนี้มีกลุ่มลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับสินค้าที่ให้ความใส่ใจกับการรักษาสิ่งแวดล้อมไม่น้อย ตรงนี้จึงเป็นจุดแข็งของสินค้า บริการ และผลิตภัณฑ์นั้นได้ไม่ยากเลย”
“สำหรับในส่วนของบริษัท บิ้ว ทรี เทคโนโลยี จำกัด เราเริ่มมาจากการเป็นสตาร์ทอัพ ที่เริ่มบริษัทมาไม่ถึงหนึ่งปี แต่ในวันนี้ถือเป็นวันที่ดีมาก ที่เราได้เป็น Official Partner กับบริษัทที่มีความเข้มแข็งอย่าง ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น ซึ่ง ทีเคเค ก็มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการขาย โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมและมีประสบการณ์ในการนำเสนอโซลูชั่นหลากหลายให้กับทางโรงงานอุตสาหกรรมอยู่แล้ว”
“ดังนั้นความร่วมมือกันและมีการแต่งตั้งให้ บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นตัวแทนให้บริการ cWallet ทีเคเคจะมีความสามารถในการนำเสนอโซลูชั่นในมุมที่โรงงานต้องการได้อย่างตรงจุด นอกจากนั้น การทำความร่วมมือกันนี้ก็สอดคล้องกับแนวคิดของทาง cWallet ที่อยากเติบโตไปพร้อมกับพาร์ทเนอร์ โดยเราวางแผนที่จะขยายตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะในระดับภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย”
ทีเคเค พร้อมผลักดัน เติมเต็มอีโคซิสเตมให้แพลตฟอร์ม cWallet สัญชาติไทย โตได้อย่างต่อเนื่อง
ด้าน อภิวัฒน์ ปัญญารัตนกุล Chief Marketing Officer (CMO) ของ ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น ได้กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า
“ด้วยความที่ทีเคเคอยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เราดูแลลูกค้าที่เป็นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศไทย และแน่นอนว่าในตอนนี้ทุกโรงงานก็มีการตั้งเป้าการลดก๊าซเรือนกระจกกันแทบทั้งสิ้น ขณะที่ ทีเคเค เรามีโปรเจ็กต์ในเรื่องของการประหยัดพลังงาน การลดค่าไฟฟ้าที่สิ้นเปลืองให้ลูกค้าของเราอยู่แล้ว”
“แต่การจะไปถึงจุดนั้น ต้องทราบก่อนว่าองค์กรนั้นสร้างคาร์บอนฟุตปริ้นท์เท่าไร และเมื่อเห็นว่า cWallet มีแพลตฟอร์มจัดการ Carbon Footprint ซึ่งก็ตรงกับเป้าหมายของทีเคเคที่ต้องการนำเสนอโซลูชั่นที่พาลูกค้าของเราให้บรรลุเป้าหมายการเป็น Net Zero ให้ได้ เราจึงมาต่อยอดร่วมกัน สร้างความร่วมมือเพื่อร่วมขับเคลื่อนการให้บริการด้านแพลตฟอร์มจัดการ Carbon Footprint สู่ภาคอุตสาหกรรมไทย”
“โดยเราพบว่า แพลตฟอร์ม cWallet ที่พัฒนาโดยผู้บริหารคนไทย ความเข้าใจในปัญหา หรือความเข้าใจในตัวผู้ปฏิบัติงานในด้านนี้ ก็จะมีมากกว่าแพลตฟอร์มจัดการคาร์บอนฟุตปริ้นท์จากต่างประเทศ นอกจากนั้น แพลตฟอร์ม cWallet ยังมีจุดเด่นในเรื่องที่สามารถ Customized หรือปรับเปลี่ยน ออกแบบ ให้ตรงกับการทำงานของลูกค้าชาวไทยได้”
“ทั้งนี้ เรามองว่าในส่วนของแพลตฟอร์ม cWallet นี้ สามารถคำนวณคาร์บอนฟุตปริ้นท์ เพื่อปูทางให้องค์กรเดินไปตามเป้าหมาย Net zero ที่วางไว้ได้ และจะพัฒนาไปได้ถึงการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในอนาคต ซึ่งจะเป็นความร่วมมือในการต่อยอดพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ได้ในโอกาสต่อไป”
“เรามองว่าแพลตฟอร์ม cWallet นี้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม ซึ่งทีเคเคมีฐานลูกค้าอยู่แล้ว ก็สามารถนำนวัตกรรมแพลตฟอร์มนี้ไปกระจายต่อ และเมื่อลูกค้าเราได้ใช้ไปก็จะเกิดการปรับปรุง พัฒนา ทำให้ในปัจจุบัน แพลตฟอร์ม cWallet ก็มีผู้ใช้งานที่เป็นภาคอุตสาหกรรมไทยไม่น้อยเลย เป็นอันดับต้นๆ ของตลาดในตอนนี้ก็ว่าได้ ดังนั้น พูดได้ว่านี่เป็นการสนับสนุน ให้โอกาส สตาร์ทอัพไทย สามารถพัฒนาแพลตฟอร์มของตนเองอย่างต่อเนื่อง ด้วยอีโคซิสเตมที่ทางทีเคเคมีนั่นเอง”
ข่าวจาก salika.co